โครงการจ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์การบูรณาการข้อมูลเครือข่ายผู้ใช้งานห้วงอากาศเพื่อการคมนาคมทางอากาศในประเทศไทย
โครงการจ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์การบูรณาการข้อมูลเครือข่ายผู้ใช้งานห้วงอากาศเพื่อการคมนาคมทางอากาศในประเทศไทย
"การคมนาคมทางอากาศ" ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยระบบการคมนาคมที่มีการเชื่อมต่อการขนส่งผ่านเครือข่ายทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้สามารถเดินทางหรือขนส่งสินค้าไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกับระบบคมนาคมของทุกประเทศ ในโลกได้อย่างไร้ขีดจำกัด สำหรับการคมนาคมทางอากาศประเทศไทย แม้ว่าจะมีการชะลอตัวของการคมนาคมทางอากาศอันเกิดจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 แต่คาดว่าจะมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หลังจากสถานการณ์คลี่คลาย นอกจากนี้ การใช้งานห้วงอากาศของประเทศไทย ยังมีการใช้งานเพื่อดำเนินกิจกรรมที่หลากหลายได้แก่ การคมนาคมทางอากาศสำหรับอากาศยานพลเรือน (Cvil Aviation) การดำเนินกิจกรรมด้านความมั่นคง(Military Aviation) รวมไปถึงการใช้งานห้วงอากาศสำหรับกิจกรรมพิเศษ ได้แก่ กิจกรรมการจุดปล่อยบั้งไฟโคมลอย โคมควัน พลุ ตะไล รวมไปถึงการใช้งานอากาศยานไร้คนขับซึ่งเป็นเทคโนโลยีศักยภาพสูงที่สามารถนำมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสนับสนุนการสร้างคุณค่าทางสังคมได้ในอนาคตอันใกล้จากการเติบโตของความต้องการใช้งานห้วงอากาศดังกล่าว ทำให้เกิดความคับคั่งของการจราจรทางอากาศทั้งที่สนามบินและบนท้องฟ้า จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบริหารจัดการการใช้งานห้วงอากาศร่วมกับเครือข่ายผู้ใช้งานห้วงอากาศประเภทต่าง อย่างบูรณาการและเป็นระบบ เพื่อให้สามารถใช้งานห้วงอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดตามข้อกำหนดขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(International Civil Aviation Organization: ICAO) และมาตรฐานสากล เพื่อพัฒนาขีดความในการแข่งขันของประเทศ ลดการขาดดุลทางเทคโนโลยี และสร้าง ecosystem ในการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านการคมนาคมทางอากาศภายในประเทศอย่างยั่งยืน จึงมีความจำเป็นในการจัดจ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์การบูรณาการข้อมูลเครือข่ายผู้ใช้งานห้วงอากาศเพื่อการคมนาคมทางอากาศในประเทศไทย